金灵异

 找回密码
 立即注册

搜索

细说泰语方言的区别 2

发表于 2018-11-27 21:17:45 | 显示全部楼层 |阅读模式
  ๑.  ความแตกต่างในเรื่องลักษณะการออกเสียงแต่ละเสียง

  เสียงพูดในภาษา  นักภาษาได้แบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ  ที่สำคัญได้แก่  เสียงพยัญชนะ  เสียงสระ  เสียงสูงต่ำ (ซึ่งหมายถึง  เสียงวรรณยุกต์ และทำนองเสียง)    การลงเสียงหนักเบา (stressed และ unstressed sound)           ภาษาถิ่นอาจจะแตกต่างกันในเรื่องการออกเสียงดังกล่าวนี้ได้

  ตัวอย่างความแตกต่างในเรื่องการออกเสียงพยัญชนะต้นคำ

  เสียงเดียวกันในภาษาถิ่นต่าง ๆ ของไทยอาจจะมีลักษณะการออกเสียงต่างกันได้  เช่น  เสียง  อ - ในคำว่า  อาบ  ซึ่งเป็นเสียงพยัญชนะต้น  ในภาษากรุงเทพฯ  เวลาออกเสียงนี้ลมจะออกทางปาก  แต่ในภาษาทางเหนือและปักษ์ใต้  ลมจะออกทั้งทางปากและทางจมูก  คือ  เป็นเสียงนาสิกด้วย

  เสียง  ช  หรือ ฉ  ในคำว่า  ช้าง  ฉิ่ง  ในภาษากรุงเทพฯ  อาจจะเป็นพยัญชนะกึ่ง-เสียดแทรก หรือพยัญชนะระเบิด ก็ได้  คือ  เวลาออกเสียงนี้  จะต้องกักลมไว้ตรงฐานที่เกิดคือระหว่างปุ่มเหงือกกับเพดานแข็งเสียก่อน  ถ้าเป็นเสียงพยัญชนะ

  ระเบิดก็จะปล่อยให้ลมระเบิดออกมาทันที   แต่ถ้าเป็นเสียงพยัญชนะกึ่ง-เสียดแทรกก็จะต้องค่อย ๆ ปล่อยลมช้า ๆ  บีบลมให้ผ่านช่องแคบออกมาเป็นเสียงเสียดแทรก  ส่วนในภาษาสงขลา  เสียงนี้จะเป็นเสียงเสียดแทรก  คือ  จะไม่มีการกักลมเลย  ลมจะผ่านออกมาได้ตลอดเวลา  แต่ตรงที่เกิดของเสียงจะเป็นช่องแคบทำให้ลมที่ผ่านออกมาเป็นเสียงเสียดแทรก

*滑块验证:
您需要登录后才可以回帖 登录 | 立即注册

本版积分规则

本站所有内容均来自网友分享,不代表本站任何观点。

© 2019 jinfopai.com

快速回复 返回顶部 返回列表